มังขี้

มังขี้

ผู้เยี่ยมชม

wavebkm22@gmail.com

  ลำดวน (494 อ่าน)

18 พ.ค. 2563 18:55



ลำดวน


ลำดวน ชื่อสามัญ White cheesewood, Devil tree, Lamdman[7],[8]

ลำดวน ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour. จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)[1]

สมุนไพรลำดวน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) ส่วนภาคกลางเรียก "ลําดวน"[1],[8]

ต้นลำดวน เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเป็นมงคลประจำจังหวัดศรีษะเกษ และดอกลำดวนยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เพราะมีเรื่องเล่าว่า สมเด็จย่าได้เสด็จไปเยี่ยมชาวจังหวัดศรีษะเกษ ทรงทอดพระเนตรเห็นดงต้นลําดวนที่ออกดอกงดงามและมีกลิ่นหอม และทรงพอพระทัย หลังจากนั้นดอกลำดวนจึงกลายเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ ทำนองเดียวกับดอกมะลิที่เป็นสัญลักษณ์ของแม่นั่นเอง นอกจากนี้ดอกลําดวนยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษอีกด้วย[6]

ลักษณะของลำดวน





  • ต้นลำดวน หรือ ต้นหอมนวล มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[7] จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตรง แตกกิ่งใบจำนวนมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา เมื่อลำต้นแก่เปลือกต้นจะเป็นสีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามแนวยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนเป็นสีเขียวสด ยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นสีแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบความชื้นสูง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงครึ่งวัน ชอบขึ้นในที่โล่งและมีแสงแดด พบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออก และภาคกลาง[2],[3],[5] และพบได้มากในจังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากต้นลำดวนเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดศรีษะเกษ[6]


ใบลำดวน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลมหรือสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีสีอ่อนกว่า เส้นกลางใบเป็นสีออกเหลืองนูนเด่นทั้งสองด้าน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร[3]

lucabetasia[size= 12.375px]บาคาร่า[/size]



มังขี้

มังขี้

ผู้เยี่ยมชม

wavebkm22@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com